เลี้ยงลูกเชิงบวก

เลี้ยงลูกเชิงบวก เป็นแนวทางการเลี้ยงลูกที่เหล่าบรรดาแม่ๆ ยุคใหม่ให้ความสนใจและอยากนำมาปรับใช้กับการเลี้ยงลูกของตัวเอง หลายคนเลือกศึกษาผ่านการอ่านหนังสือ และจำนวนไม่น้อยที่เลือกศึกษาจากเพจแนะนำการเลี้ยงลูกในเฟซบุ๊ก ในบทความนี้มีวิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวก และเทคนิคต่างๆ มาให้คุณพ่อคุณแม่ที่สนใจสามารถนำไปปรับใช้ในการเลี้ยงลูกเชิงบวกได้

เลี้ยงลูกเชิงบวก

เลี้ยงลูกเชิงบวก เริ่มได้ ยังไม่สาย

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่ใช้วิธีการเลี้ยงลูกแบบเดิม (เชิงลบ) ยังไม่สายเกินไปที่จะเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวก วิธีที่ไม่ใช้ความรุนแรง เพียงแค่ใช้ความตั้งใจ และความเข้าใจ ก็สามารถปรับเปลี่ยนการเลี้ยงลูกเชิงบวกได้ทันที อาจจะดูเหมือนจะยาก แต่ถ้าทำบ่อยๆแล้วก็จะเกิดความเคยชินไปเอง แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น คนในครอบครัวควรปฏิบัติให้เป็นในแนวทางเดียวกัน เพื่อลูกจะได้ไม่สับสน

จากเหตุการณ์ข่าวครูทำร้ายนักเรียนชั้นอนุบาล ถ้าลูกของคุณเป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียนนั้น หรือได้ยินข่าวผ่านทางโทรทัศน์ ก็อาจจะหวาดกลัว กังวลกับการไปโรงเรียน ซึ่งเราต้องเข้าใจนะคะว่าเด็กทุกคนหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่มีการรับมือกับสถานการณ์ที่รุนแรงที่กระทบทางด้านจิตใจที่แตกต่างกัน ในยุคดิจิทัลนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะห้ามเด็กๆ ไม่ให้รู้เกี่ยวกับเหตุการณ์ข่าวที่เป็นกระแสอยู่

คำแนะนำจากมูลนิธิสุขภาพจิต

  • อย่าพยายามปิดกั้นการเปิดรับข่าวสารทั้งหมด สิ่งนี้ไม่ทำให้เป็นผลดี แต่อาจจะไปเพิ่มความกลัวได้ หากเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นกับลูก
  • ให้บอกความจริงกับเหตุการณ์เกิดขึ้น ทั้งนี้ทั้งนั้นรายละเอียดของความจริงที่สามารถพูดได้ ต้องดูให้สมกับวัยของลูก
  • บอกให้ลูกรู้ว่าเป็นเรื่องปกติที่จะต้องกังวลและบอกลูกว่าคุณกังวลเช่นกัน
  • หากลูกยังคงมีท่าทีสงสัย คุณก็กระตุ้นให้ลูกถามคำถาม เพื่อให้ความกระจ่างกับตัวเขาถึงเหตุการณ์เหล่านั้น
  • สร้างความมั่นใจให้ลูกว่าคุณจะทำทุกอย่างที่ทำได้ เพื่อให้เขาปลอดภัย

การเลี้ยงลูกช่างเป็นอะไรอะไรที่เปราะบาง ละเอียดอ่อน แต่ก็ไม่ได้ยากจนเกินความสามารถของคนเป็นพ่อเป็นแม่ เพราะจุดมุ่งหมายของพ่อแม่คือการให้ลูกมีความสุขทั้งกายและจิตใจ สามารถยืนหยัดอยู่ร่วมกับคนอื่นในสังคมได้โดยไม่มีปัญหา สถาบันครอบครัวควรมีรากฐานที่แข็งแกร่ง มั่นคง เพราะคุณไม่มีทางรู้ได้เลยว่าในอนาคตลูกจะเจอกับสิ่งใดบ้าง แต่ถ้าลูกมีความมั่นคงทางจิตใจและมีคุณเป็นคนที่เขาไว้ใจที่จะเล่าเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตเขาให้คุณฟังแล้ว ไม่ว่าเรื่องราวจะร้ายเพียงใดก็จะมีคนในครอบครัวคอยสู้ไปพร้อมๆ กับเขา

การเลี้ยงลูกเชิงบวกคืออะไร

การเลี้ยงลูกเชิงบวก คือ วิธีการเลี้ยงลูกที่เข้าใจการทำงานของสมองทางวิทยาศาสตร์ โดยเน้นการเลี้ยงลูกด้วยความรัก เข้าใจความแตกต่างหลากหลายของเด็กแต่ละคน ใช้ระเบียบวินัยเป็นเครื่องมือ และไม่ใช้ความรุนแรงทั้งคำพูดและการกระทำ หลักการเลี้ยงลูกเชิงบวกจะใช้วิธีการสอนหรือโค้ช เพื่อให้เด็กเห็นผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้น และใช้เทคนิคต่างๆ กระตุ้นให้สมองส่วนคิดวิเคราะห์ทำงานได้ดีขึ้น

สังคมไทยเป็นสังคมที่เติบโตมากับวัฒนธรรมเชิงอำนาจและวัฒนธรรมเชิงลบ พ่อแม่จะมีอำนาจเหนือลูก ครูมีอำนาจเหนือลูกศิษย์ จึงใช้วิธีการบังคับ ขู่ ทำให้กลัว และตีให้ราบจำ ซึ่งแตกต่างจาการเลี้ยงลูกเชิงบวกที่เราจะไม่ทำร้ายตัวตนของเด็ก ไม่สร้างบาดแผลในการเติบโต ให้คำชม ให้กำลังใจ สอนให้ลูกรู้ผลลัพธ์ตามธรรมชาติ และฝึกวินัยอย่างจริงจัง สม่ำเสมอ

เลี้ยงลูกเชิงบวกกระตุ้นสมองส่วนคิดวิเคราะห์ทำงาน

การเลี้ยงลูกเชิงบวกสามารกระตุ้นสมองได้ สมองของมนุษย์มี 3 ส่วน คือ สมองส่วนบน หรือสมองส่วนคิด สมองส่วนกลาง หรือสมองส่วนอารมณ์ และสมองส่วนล่าง หรือสมองส่วนสัณชาตญาณ

สมองส่วนสัณชาตญาณมีการพัฒนาที่ดีตั้งแต่แรกเกิด และมักจะทำงานร่วมกันกับสมองส่วนอารมณ์ เพื่อกระตุ้นให้มนุษย์เอาตัวรอดจากความรู้สึกไม่ปลอดภัย เมื่อไหร่ที่อยู่ในภาวะไม่ปลอดภัยหรือเครียด สมองส่วนสัญชาตญาณจะตอบสนองทันที คือ สู้ หนี ยอม ซึ่งในครอบครัวที่พ่อแม่ใช้ความรุนแรงในการเลี้ยงดู การตอบสนองทั้ง 3 แบบ มักจะส่งผลลบกับการพัฒนาตัวตนของเด็ก

  • “สู้” เมื่อโตขึ้นจะพัฒนาเป็นเด็กก้าวร้าวและใช้ความรุนแรงแก้ปัญหา
  • “หนี” จะพัฒนาเป็นผู้ใหญ่ที่วิตกกังวลง่ายและซึมเศร้า
  • “ยอม” การยอมของเด็กจะส่งผลให้เด็กไม่นับถือตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่า ไม่มีศักยภาพ ไม่มีความสามารถ

สมองส่วนคิดวิเคราะห์ เป็นสมองส่วนที่พัฒนาช้าที่สุด โดยจะพัฒนาเต็มที่ประมาณอายุ 25 ปี ด้วยเหตุนี้เมื่อเวลาเด็กร้องไห้โวยวายไม่รู้เหตุผล เด็กไม่ได้ตั้งใจ เนื่องจากเป็นการตอบสนองตามธรรมชาติของสมองส่วนสัณชาตญาณ และเป็นข้อจำกัดตามธรรมชาติที่เด็กมี การเลี้ยงลูกเชิงบวกคือ การทำให้สมองส่วนอารมณ์สงบ เพื่อให้เด็กฝึกใช้สมองส่วนคิดวิเคราะห์ให้มากขึ้น

ช่วยลูกเรียนรู้ เข้าใจ และจัดการอารมณ์เป็น

ครอบครัวที่จะนำหลักการเลี้ยงลูกเชิงบวกมาใช้ ต้องเข้าใจอารมณ์และจัดการอารมณ์ของตนเองเสียก่อน เพื่อไม่ให้มีอารมณ์รุนแรง และกระตุ้นให้สมองส่วนวิเคราะห์ทำงาน พญ.จิราภรณ์ ยกตัวอย่างการควบคุมอารมณ์ของลูก ที่พ่อแม่เลี้ยงลูกเชิงบวกต้องใช้ว่า

“ตลอด 4 ปี หมอไม่เคยตีลูกเลย และแน่ใจว่าในอนาคตก็ไม่ต้องตีลูก เพราะมันมีวิธีที่ดีกว่า ไม่เห็นต้องตีเลยสักครั้ง ทุกครั้งที่จะตีลูก หมอบอกได้เลยว่าเกิดจากพ่อแม่ที่ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ ถ้าควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ดี จะพบว่าเด็กไม่ต้องตี หลายคนที่ตีลูก ลูกก็ยิ่งก้าวร้าว ต่อต้าน”

เมื่อพบว่าลูกโกรธหรือโมโห ให้สะท้อนความรู้สึกลูกทันที โดยกล่าวว่า “หนูคงกำลังโกรธ แม่เข้าใจเลยที่หนูรู้สึกโกรธ เรามาเป่าไล่ตัวโกรธกันก่อน หายใจลึกๆ ฮึบ แล้วเป่าออกดังฟู่” วิธีการนี้จะสอนให้เด็กรู้จักอารมณ์และวิธีจัดการอารมณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนั้น พ่อแม่ไม่ควรจัดการอารมณ์ของลูกด้วยการออกคำสั่ง และไม่ควรใช้วิธีเดิมๆ ซึ่งเป็นวิธีเชิงลบว่า “แม่บอกแล้วใช่ไหมว่าอย่าทำแบบนี้ อย่ามาโมโหนะ” เพราะจะยิ่งทำให้อารมณ์เด็กพลุ่งพล่าน เพราะสมองส่วนอารมณ์ถูกกระตุ้น ให้เปลี่ยนมาใช้การเลี้ยงลูกเชิงบวกแทน

พญ.จิราภรณ์ กล่าวว่า คนไทยอยู่กับวัฒนธรรมเชิงลบมาอย่างยาวนาน จึงทำให้ซึมซับอยู่ในสัญชาตญาณ หลายครั้งก็แสดงออกโดยไม่ได้คำนึงถึงความรู้สึกของคนรับสาร เช่นกรณีต้องการให้ลูกเก็บรองเท้าเข้าที่ พ่อแม่มักจะพูดว่า “ถอดรองเท้าแล้วเก็บเข้าที่ด้วยสิ” คำพูดแบบนี้เมื่อลูกได้ยินก็จะหน้างอ เพราะรู้สึกไม่อยากทำ ซึ่งพ่อแม่สามารถเปลี่ยนเป็นการเตือนลูกได้ว่า “ลูก รองเท้าลูก” เด็กก็เข้าใจแล้วว่ารองเท้าต้องเก็บเข้าที่

เลี้ยงลูกเชิงบวก

เทคนิคการเลี้ยงลูกเชิงบวก

ในทางจิตวิทยาการเลี้ยงลูกเชิงบวก เป็นการเลี้ยงดูที่เกิดจากความเข้าใจในพัฒนาการตามวัยของลูก เอื้อต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างลูกกับพ่อแม่ เติมเต็มและเอาใจใส่ลูกด้วยความรัก ทั้งยังส่งผลลูกๆ เติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่มีศักยภาพและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นได้ โดยวิธีการเลี้ยงลูกเชิงบวกมีดังนี้

  • เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก

การเลี้ยงลูกเชิงบวกเริ่มที่พฤติกรรมและทัศนคติของพ่อแม่ ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะนำทางไปสู่ความคิดและพฤติกรรมของลูก โดยพ่อแม่จะต้องเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกๆ เพราะลูกมักสังเกตการกระทำของพ่อแม่เสมอ เช่น เมื่อมีตั้งกฎระเบียบภายในบ้าน แล้วปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ ลูกก็จะมีแนวโน้มทำตามเช่นกัน

  • ใช้คำพูดในการสื่อสารเชิงบวกหรือการให้กำลังใจลูกอย่างสม่ำเสมอ

เมื่อลูกๆ ทำอะไรมีพฤติกรรมที่พึงประสงค์ อาทิเช่น การเล่นกับเด็กคนอื่นอย่างอ่อนโยน การพูดคุยกับคนอื่นด้วยความสุภาพ การช่วยเหลืองานบ้านเล็กๆ น้อยๆ  พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกเชิงบวกควรบอกกล่าว ให้คำชมด้วยความจริงใจ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับลูกๆ โดยพ่อแม่ควรหลีกเลี่ยงการใช้คำพูดที่ฟังแล้วรุนแรงหรือกระทบต่อจิตใจลูกเมื่อลูกทำผิด เพราะอาจทำให้ลูกฝังใจได้

  • ใช้เวลาที่มีคุณภาพร่วมกันและใกล้ชิดลูกมากขึ้น

การเลี้ยงลูกเชิงบวกให้ใช้เวลาที่มีคุณภาพอยู่กับลูก ๆ จะเป็นการกระชับความสัมพันธ์ในครอบครัว ให้ลูกรู้สึกว่ามีพ่อแม่คอยใส่ใจและดูแลเสมอ เช่น รับประทานอาหารร่วมกัน ทำกิจกรรมบ้าง หรือการคุยเล่นทั่วไปก็สามารถช่วยได้ อีกทั้งวิธีนี้ยังสามารถทำให้พ่อแม่ทำความเข้าใจเกี่ยวกับความคิดและพฤติกรรมของลูกได้ด้วย

  • ให้ลูกได้ใช้ความคิดเป็นของตัวเอง

เมื่อลูกโตขึ้น ลูกเริ่มมีความรับผิดชอบและสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นมากขึ้น ดังนั้นหากพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกเชิงบวกเจอกับการให้ลูกบอกความคิดในการแก้ปัญหาหรือการใช้ชีวิตประจำวันบ้างถือเป็นสิ่งที่ควรทำ การเปิดโอกาสให้ลูกๆ ได้เสนอความคิดเห็นหรือวิธีการแก้ปัญหา โดยการเอื้อให้ลูกๆ ได้อธิบายเหตุผลว่าทำไมลูกคิดเช่นนั้น พร้อมทั้งชวนให้ลูกๆ ได้คิดถึงข้อดีและข้อควรระวังจากการแก้ปัญหานั้นๆ จะทำให้ลูกๆ กล้าที่จะแสดงความคิดเห็นพร้อมๆ กับการคิดวิเคราะห์มากขึ้น

  • สอนให้ลูกเข้าใจคนอื่น

เนื่องจากแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรม การสอนให้ลูกเข้าใจความแตกต่างนี้ถือเป็นสิ่งที่พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกเชิงบวกควรปลูกฝังให้ลูกตั้งแต่เด็ก เพราะการสอนให้ลูกเข้าใจคนอื่น จะเอื้อให้ลูกๆ เอาใจเขามาใส่ใจเรามากขึ้น

  • ยอมรับผิดบ้าง

ในข้อนี้อาจไม่ได้พูดถึงลูกโดยตรง แต่เป็นการพูดถึงพ่อแม่ที่เลี้ยงลูกเชิงบวกให้ยอมรับกับตนเองว่า พ่อแม่ก็สามารถทำผิดได้ ซึ่งพ่อแม่จะต้องกล้าที่จะขอโทษอย่างไม่เขินอาย นอกจากจะเป็นการสอนให้ลูกรู้ว่า ถึงแม้จะเป็นพ่อแม่ก็สามารถทำผิดพลาดได้และยังเป็นการสอนให้ลูกกล้าที่ยอมรับผิดเมื่อทำสิ่งผิดพลาดและเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขในสิ่งที่ผิดให้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง

บทสรุป

การเลี้ยงดูลูกถือเป็นงานที่สำคัญและมีคุณค่ามากที่สุดสำหรับพ่อแม่ แต่การเป็นพ่อแม่นั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่าย พ่อแม่หลายๆ คน อาจเคยประสบปัญหา “ ลูกไม่เชื่อฟัง ” ลูกๆ ปฏิบัติไม่ทำตามการร้องขอของพ่อแม่ จากปัญหาดังกล่าวทำให้พ่อแม่ไม่รู้ว่าจะแก้ปัญหานั้นอย่างไร หลายครั้งต้องจบด้วยการขึ้นเสียงหรือการลงโทษที่รุนแรง เช่น การตี เพราะพ่อแม่เข้าใจว่านั่นจะทำให้ลูกเชื่อฟัง แต่แท้จริงแล้ววิธีเหล่านี้อาจทำให้ลูกเกิดความรู้สึกเป็นบาดแผลในใจ เกิดความหวาดกลัว ไม่กล้าลงมือทำในสิ่งใหม่ๆ ไม่มั่นใจในตัวเอง หรือพฤติกรรมอื่นๆ ที่เป็นปัญหา เช่น การโกหกได้ เพราะฉะนั้นการที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้พ่อแม่ต้องปรับเปลี่ยนมาเลี้ยงลูกเชิงบวกตามวิธีที่แนะนำข้างต้น

 

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเด็ก

ที่มาของบทความ

ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับเด็กได้ที่ tyreinternationalfestival.com
สนับสนุนโดย  ufabet369