Health

  • เหงื่อออก ผิดปกติควรไปพบแพทย์
    เหงื่อออก ผิดปกติควรไปพบแพทย์

    เหงื่อออก ผิดปกติควรไปพบแพทย์

    เหงื่อออก เป็นเรื่องปกติที่ต้องพบเจอทุกวัน ยิ่งอาศัยอยู่ในประเทศเขตร้อนอย่างบ้านเราไปจนถึงสภาพแวดล้อมรอบตัวหรือกิจกรรมต่างๆ ที่ทำในแต่ละวัน จะกระตุ้นให้ออกมากน้อยแตกต่างกันออกไป แต่เหงื่อในลักษณะไหนที่ส่งสัญญาณบอกให้ควรหันมาใส่ใจกับสุขภาพ

    เรื่องน่ารู้ของอาการเหงื่อออกเยอะ

    เหงื่อออก เป็นของเสียรูปแบบหนึ่งที่ถูกขับจากต่อมเหงื่อออกมาทางผิวหนัง เพื่อช่วยลดอุณหภูมิในร่างกายลง โดยมีส่วนประกอบสำคัญเป็นน้ำและเกลือ มักจะออกตามใบหน้า รักแร้ ฝ่ามือและฝ่าเท้าเป็นหลัก ส่วนสาเหตุที่ทำให้เหงื่อออกมาจากหลายปัจจัย ได้แก่

    • อุณหภูมิภายในหรือภายนอกร่างกายสูงขึ้น ถือเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เหงื่อออก
    • สภาวะทางอารมณ์ก็มีส่วนกระตุ้นให้เหงื่อออก เช่น โกรธ กลัว เครียด วิตกกังวล หรืออึดอัดใจ
    • การรับประทานอาหารบางประเภท เช่น อาหารเผ็ดร้อน เครื่องดื่มคาเฟอีน ชา กาแฟ โซดา หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งกระตุ้นให้เหงื่อออกในขณะรับประทานอาหาร
    • อาการป่วยทางร่างกาย เช่น โรคมะเร็ง ไข้ขึ้น อาการติดเชื้อ น้ำตาลในเลือดต่ำ กลุ่มอาการเจ็บปวดเฉพาะที่อย่างซับซ้อนบริเวณแขนขาหรือกลุ่มอาการซีอาร์พีเอส (Complex Regional Pain Syndrome)
    • การใช้ยาบางชนิด เช่น ยาลดไข้ ยาแก้ปวดหรือมอร์ฟีน ยาบำบัดภาวะร่างกายพร่องไทรอยด์ฮอร์โมน (Synthetic Thyroid Hormones)
    • อยู่ในวัยหมดประจำเดือนหรือวัยทอง เป็นช่วงของการเปลี่ยนแปลงฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับประจำเดือน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เหงื่อออก จึงสังเกตเห็นได้ว่าผู้หญิงวัยทองมักมีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน หรือมีอาการร้อนวูบวาบพร้อมกับเหงื่อออก

    ปริมาณเหงื่อแต่ละวันที่ถูกขับออกจากร่างกายจะแตกต่างกันออกไปในแต่ละคน อาจมีปริมาณน้อยกว่า 1 ลิตรไปจนถึงหลายลิตร ขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่ทำในระหว่างวันและสภาพอากาศ เช่น พนักงานออฟฟิศในตึกที่ควบคุมอุณหภูมิให้เย็นสบายจะมีเหงื่อออกน้อยกว่าคนงานที่ทำงานข้างนอกตึกในสภาพอากาศร้อนจัด การออกกำลังกาย หรือทำกิจกรรมที่ต้องออกแรง จะทำให้เหงื่อออกได้มากกว่าปกติ นอกจากนี้ ปริมาณเหงื่อยังขึ้นอยู่กับจำนวนต่อมเหงื่อในร่างกาย โดยผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นจะเหงื่อออกได้ง่ายกว่าวัยอื่น เพราะเป็นช่วงที่ต่อมเหล่านี้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และต่อมเหงื่อของผู้ชายมักทำงานได้มากกว่าผู้หญิง

    อีกหนึ่งปัญหาที่ตามมาจากเหงื่อคงหนีไม่พ้นเรื่องของกลิ่นไม่พึงประสงค์ ตัวการของกลิ่นไม่ได้มาจากเหงื่อโดยตรง แต่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนังทำปฏิกิริยากับกรดในเหงื่อจนกลายเป็นกลิ่นตัว (Bromhidrosis) ซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยในวัยหนุ่มสาว และผู้ชายก็มักมีกลิ่นตัวได้ง่ายกว่าสาวๆ เนื่องจากมีต่อมเหงื่อมากกว่า จึงทำให้ผลิตเหงื่อออกมามาก รวมถึงยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เกิดกลิ่นตัวได้ง่าย เช่น น้ำหนักตัวมาก รับประทานอาหารรสจัดหรือแอลกอฮอล์ รับประทานยาบางชนิดอย่างยาต้านเศร้า (Antidepressants) หรือโรคบางโรค

    เหงื่อบ่งบอกสุขภาพได้อย่างไร

    ความเหนียวตัวและกลิ่นไม่พึงประสงค์จากเหงื่อทำให้หลายคนรู้สึกหงุดหงิดจนพาลไม่อยากให้เหงื่อออก แต่หากเหงื่อไม่ออกเลย ออกเพียงช่วงกลางคืน หรือแม้แต่ออกมากเกินในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งก็อาจเป็นสัญญาณผิดปกติที่ควรระวัง เพราะมักเป็นปัญหาสุขภาพที่ซ่อนอยู่ ซึ่งภาวะเหงื่อออกผิดปกติที่พบได้บ่อย ได้แก่

    • ภาวะขาดเหงื่อ (Anhidrosis)

    เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถผลิตเหงื่อได้ตามปกติ จึงอาจทำให้ร่างกายสะสมความร้อนไว้สูงเกินไป ซึ่งจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคที่มีสาเหตุมาจากความร้อน เช่น ตะคริวแดด (Heat Cramp) อาการเพลียแดด (Heat Exhaustion) จากการโดนแดดหรือความร้อนเป็นเวลานานจนทำให้หมดแรง โรคลมแดด (Heat Stroke) และอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตเมื่อุณหภูมิในร่างกายสูงมากกว่า 40 องศาเซลเซียส เพราะร่างกายไม่สามารถระบายความร้อนออกไปพร้อมกับเหงื่อได้ทัน

    ภาวะขาดเหงื่อเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกายหรือเกิดเป็นเฉพาะบางจุด โดยสาเหตุการเกิดมาจากหลายปัจจัย เช่น การได้รับบาดเจ็บบริเวณผิวหนังอย่างรุนแรง โรคหรือยาบางชนิด สภาวะบางอย่างที่ทำให้ระบบเส้นประสาทเสียหาย ภาวะขาดน้ำ หรือแม้แต่กรรมพันธุ์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อการทำงานของต่อมเหงื่อ ส่วนการรักษาต้องพิจารณาจากสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดภาวะนี้ เพื่อรักษาให้หายขาด

    • เหงื่อออกมากผิดปกติ (Hyperhidrosis)

    ภาวะหลั่งเหงื่อมากเป็นภาวะที่ร่างกายผลิตเหงื่อออกมามากเกินความจำเป็น เนื่องจากกลไกการลดอุณหภูมิของร่างกายไวต่อการกระตุ้นและจำนวนต่อมเหงื่อมากกว่าปกติ ทำให้ผลิตเหงื่อออกมากกว่าคนปกติ 3-4 เท่า เช่น นั่งเฉย ๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากก็อาจทำให้เหงื่อท่วมตัว หรือในหน้าหนาวที่อากาศค่อนข้างเย็นกลับพบว่ามีเหงื่อออกมากเหมือนในหน้าร้อน

    สาเหตุของเหงื่อออกมากผิดปกติยังไม่ทราบแน่ชัด เพราะเกิดได้จากหลายปัจจัย อาจมาจากการรับประทานยารักษาโรคที่เกี่ยวข้องกับระบบต่อมไร้ท่อ เช่น โรคเบาหวานหรือโรคของต่อมไทรอยด์ เข้าสู่ช่วงวัยทอง รวมไปถึงการติดเชื้อ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคปอด

    เมื่อเหงื่อออกมากก็จะทำให้เกิดกลิ่นตามมา โดยเฉพาะจุดอับตามร่างกาย ผู้ที่เกิดภาวะหลั่งเหงื่อมากควรเริ่มต้นด้วยการดูแลความสะอาดของร่างกายตามคำแนะนำ ดังนี้

    • อาบน้ำเป็นประจำทุกวันหรืออาบบ่อยขึ้นในวันที่อากาศร้อน ซึ่งจะช่วยกำจัดแบคทีเรียตามผิวหนังและจุดซ่อนเร้นไม่ให้เพิ่มปริมาณมากขึ้น รวมไปถึงเลือกใช้ผลิตภัณฑ์อาบน้ำที่มีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย
    • รักษาความสะอาดของจุดซ่อนเร้น เพราะเป็นจุดอับที่เกิดกลิ่นได้ง่าย เช่น รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับ
    • ใช้ผลิตภัณฑ์ระงับกลิ่นกายหลังอาบน้ำ โดยเน้นผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของอะลูมิเนียม คลอไรด์ (Aluminium Chloride) ซึ่งจะช่วยลดการผลิตเหงื่อให้น้อยลง
    • เลือกสวมเสื้อผ้าที่ผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ เพราะมีคุณสมบัติในการระบายความร้อนได้ดี ไม่ก่อให้เกิดความอับชื้นได้ง่าย
    • สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาดและเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่ทุกวัน เพื่อป้องกันการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย
    • เลี่ยงรับประทานอาหารรสจัด เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัตว์เนื้อแดง ซึ่งกระตุ้นให้เหงื่อออกมากขึ้น

    หากการดูแลเบื้องต้นไม่ดีขึ้น การรักษาทางการแพทย์อาจใช้การฉีดสารโบทูลินั่ม ท็อกซิน(Botulinum Toxin) ในบริเวณที่มีต่อมเหงื่อเยอะ เช่น ใต้วงแขน แขน ขา หรือใบหน้า ซึ่งช่วยยับยั้งการส่งสัญญาณของสมองไปยังต่อมเหงื่อให้ผลิตเหงื่อน้อยลง

    ในกรณีที่เกิดกลิ่นตัวอย่างรุนแรงมากจนไม่สามารถบรรเทากลิ่นให้น้อยลงด้วยวิธีการอื่น แพทย์อาจรักษาด้วยการผ่าตัดกำจัดต่อมเหงื่อบางส่วนออก ซึ่งมีอยู่หลากหลายวิธีที่นิยมใช้ เช่น การผ่าตัดนำเนื้อเยื่อหรือผิวหนังใต้วงแขนบางส่วนออก การดูดต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังออกโดยใช้เทคนิคเดียวกับการดูดไขมัน (Liposuction) การผ่าตัดผ่านรูกุญแจ (Keyhole Surgery) ด้วยเทคนิคที่เรียกว่า Endoscopic Thoracic Sympathectomy (ETS) เพื่อทำลายเส้นประสาทที่ควบคุมต่อมการผลิตเหงื่อ

    • เหงื่อออกกลางคืน (Night Sweat)

    เป็นภาวะที่มีเหงื่อออกมากผิดปกติเฉพาะช่วงกลางคืน โดยไม่มีปัจจัยอื่นกระตุ้นให้เหงื่อออกและอุณหภูมิของห้องเป็นปกติ บางครั้งอาจมีเหงื่อออกมากจนที่นอนเปียกชื้น ภาวะนี้ในบางครั้งอาจวินิจฉัยได้ยาก เพราะบางคนเหงื่อออกจากสภาพแวดล้อมภายนอก เช่น อุณหภูมิในห้องนอนสูงเกินไป ชุดเครื่องนอนหนามาก หรือบนเตียงมีหมอนเยอะหลายใบจนทำให้รู้สึกร้อน แพทย์จึงต้องแยกสาเหตุทั่วไปและทางการแพทย์ออกจากกัน

    สาเหตุการเกิดอาจมาได้จากหลายส่วน ภาวะนี้มักพบได้บ่อยในผู้หญิงที่เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยทอง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ซึ่งจะเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ของวัยทอง เช่น ช่องคลอดแห้ง รู้สึกร้อนวูบวาบในช่วงกลางวัน อารมณ์แปรปรวน ส่วนสาเหตุอื่นๆ เกิดได้จากการรับประทานยาบางชนิด ความผิดปกติของฮอร์โมน ไข้ขึ้น แต่ในบางรายก็เป็นผลมาจากการติดเชื้อหรือโรคมะเร็ง แต่พบได้ค่อนข้างน้อย ในการวินิจฉัยจึงต้องใช้ข้อมูลหลายส่วนประกอบกัน

    อาการเหงื่อออกเป็นกลไกธรรมชาติที่ช่วยลดความร้อนภายในร่างกายและเป็นตัวบ่งบอกถึงสุขภาพบางส่วนจากระบบทำงานของร่างกายที่ผิดเพี้ยนไป แต่หากขาดการดูแลและรักษาความสะอาดอย่างเหมาะสมย่อมจะเกิดผลเสียตามมา จึงควรหมั่นสังเกตว่าเหงื่อที่ออกในชีวิตประจำวันเป็นปกติหรือพ่วงความผิดปกติใดมาหรือไม่ เช่น เจ็บหน้าอก ไข้ขึ้น หัวใจเต้นเร็วและถี่ หายใจสั้น น้ำหนักลง เพราะอาจเป็นสัญญาณว่าคุณกำลังเผชิญกับการติดเชื้อหรือโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ที่ซ่อนอยู่ อย่างไรก็ตาม ควรไปพบแพทย์เมื่อมีเหงื่อออกในลักษณะต่อไปนี้

    • เหงื่อออกมากหรือออกเป็นระยะเวลานานโดยหาสาเหตุไม่ได้
    • มีอาการเจ็บแน่นหน้าอกหรือความดันโลหิตเกิดขึ้นพร้อมกับเหงื่อออก หรืออาจเกิดตามมา
    • เหงื่อออกบ่อยๆ ในช่วงกลางคืนหรือเหงื่อออกมากจนน้ำหนักลด

    เหงื่อออก

    เหงื่อมากผิดปกติ มีวิธีรักษาและดูแลตัวเองอย่างไร

    การักษาโรคเหงื่อออกมากผิดปกติ ขึ้นอยู่กับว่าเป็นอาการเข้ากับกลุ่มไหน ถ้าสงสัยว่าเป็น Secondary Hyperhidrosis (กลุ่มที่มีสาเหตุจากภาวะความผิดปกติในร่างกาย) ก็ต้องไปหาว่าเป็นโรคอะไร และรักษาโรคนั้น อาการเหงื่อออกมากผิดปกติก็จะค่อยๆ ดีขึ้น แต่ถ้าอาการเข้าได้กับ Primary focal hyperhidrosis และหาสาเหตุไม่ได้ ก็จะรักษาโดยการลดปริมาณเหงื่อที่ออกในบริเวณนั้นๆ ซึ่งทำได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

    1.ทายา ที่มีส่วนผสมของอลูมิเนียมคลอไรด์ (Antiperspirants)

    หรือสารระงับเหงื่อ ออกฤทธิ์ทำให้โปรตีนในผิวหนังเกิดการตกตะกอน เมื่อสารนี้ซึมเข้าไปสู่รูต่อมเหงื่อ เกลืออลูมิเนียมจะเข้าเกาะติดในรูต่อมเหงื่อจนทำให้รูอุดตัน และปิดกั้นทางออกของเหงื่อไว้ สามารถทาได้ทั้งบริเวณ ไรผม รักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า โดยต้องทายาก่อนนอนในบริเวณที่เหงื่อออกมากแล้วล้างออกตอนเช้า ยาอาจทำให้เกิดการระคายเคืองในบริเวณที่ใช้ได้

    2.การฉีดสารโบทูลินั่มท็อกซินชนิดเอ (botulinum toxin type A)

    บริเวณรักแร้ หรือฝ่ามือ ฝ่าเท้า เพื่อกดการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการหลั่งเหงื่อ ก่อนฉีดก็จะมีการทายาชาและประคบน้ำแข็ง โดยอาจจะมีการทดสอบก่อน (Starch-Iodine Test) เพื่อดูบริเวณที่เหงื่อออก จะได้ฉีดให้ครอบคลุมทั่วบริเวณ ซึ่งฤทธิ์ของโบทูลินั่มท็อกซินจะอยู่ได้นานประมาณ 6-9 เดือน เมื่อหมดฤทธิ์เหงื่อก็จะกลับมาออกตามปกติ

    3.MiraDry

    คือ เทคโนโลยีที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกาประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ช่วยในการแก้ไขปัญหาเหงื่อ และกลิ่นตัวบริเวณใต้วงแขน โดยการใช้พลังงานคลื่นไมโครเวฟ ส่งพลังงานความร้อนลงไปทำลายต่อมเหงื่อบริเวณรักแร้ สามารถแก้ไขปัญหาได้ถาวร โดยไม่จำเป็นต้องทำซ้ำหลายครั้ง และยังมีความปลอดภัยสูง โดยเป็นเครื่องเดียวในปัจจุบัน ที่ได้รับรับรองจาก FDA ในการรักษาโรคนี้

    4.การรักษาด้วยไอออนโตฟอรีซีส (Iontophoresis)

    เป็นวิธีที่ใช้กระแสไฟฟ้าพลังงานต่ำช่วยส่งผ่านน้ำหรือยาเข้าสู่ผิวหนังบริเวณต่อมเหงื่อ บริเวณรักแร้ ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส่งผลให้ต่อมเหงื่อบริเวณนั้นทำงานลดลง อาจต้องเข้ารับการรักษาประมาณ 6-10 ครั้งจึงจะเห็นผล และอาจต้องทำซ้ำทุกเดือนเพื่อให้ได้ผลอย่างต่อเนื่อง

    5.การผ่าตัด มีทั้งการผ่าตัดเอาต่อมเหงื่อออก (remove sweat glands)

    การกำจัดปมประสาทอัตโนมัติ (Sympathectomy) โดยการทำลายปมประสาทบางส่วนที่ส่งสัญญาณมาบริเวณใบหน้า ฝ่ามือ หรือรักแร้ ส่งผลให้ไม่มีการหลั่งเหงื่อเกิดขึ้นที่บริเวณนั้นๆ

    การดูแลตนเองสำหรับผู้ที่เป็นโรคเหงื่อออกเยอะผิดปกติ

    1. ควรสวมเสื้อผ้าที่ไม่รัดแน่นจนเกินไป ใส่สบาย ระบายเหงื่อได้ดี
    2. อาบน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง หรือมากกว่าตามความสะดวก
    3. รักษาเท้าให้แห้งเสมอ เพื่อป้องกันการเป็นเชื้อรา
    4. สวมรองเท้าที่สะอาดและแห้งอยู่เสมอ และมีรองเท้าสำรอง ใส่สลับสับเปลี่ยนทุกวัน เพื่อลดการสะสมเชื้อแบคทีเรีย
    5. เลือกรับประทานอาหารชนิดที่ไม่เพิ่มการหลั่งเหงื่อเช่น อาหารรสเผ็ดจัด และอาหารที่ไม่เพิ่มกลิ่นทางเหงื่อ เช่น กระเทียม หัวหอม ต้นหอม
    6. ควบคุมอาการ ออกกำลังกาย เพื่อควบคุมน้ำหนัก ไม่ให้น้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน

    ที่มา

     

    ติดตามอ่านเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพได้ที่  tyreinternationalfestival.com

    สนับสนุนโดย  ufabet369

Economy

  • หุ้น BCP พุ่งรับข่าว บางจาก เตรียมเข้าซื้อ เอสโซ่
    หุ้น BCP พุ่งรับข่าว บางจาก เตรียมเข้าซื้อ เอสโซ่

    หุ้น BCP พุ่งรับข่าว บางจาก เตรียมเข้าซื้อ เอสโซ่ นักวิเคราะห์ชี้ ช่วยดันกำลังการกลั่นพุ่งเท่าตัว

    ความเคลื่อนไหวของราคาหุ้น บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ในช่วงเช้าวันนี้ ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่น โดยเป็นผลมาจาก กระแสข่าวว่า BCP กำลังเตรียมเข้าซื้อกิจการบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ ESSO จากผู้ถือหุ้นเดิม

    หลังจากมีการเจรจาซื้อขายหุ้น ESSO กันมาตั้งแต่ต้นปี 2565 ที่ผ่านมา โดยมีรายงานว่าราคาซื้อขายหุ้น ESSO จะอยู่ระหว่าง 12-14 บาทต่อหุ้น และ BCP จะมีการนำเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อพิจารณาเรื่องนี้ในวันที่ 9 ม.ค. 2566

    นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส ประเมินว่า ข่าวการเข้าซื้อกิจการ ESSO ของ BCP ในครั้งนี้ถือไม่ใช่ครั้งแรก เพราะก่อนหน้านี้ก็มีประเด็นข่าวว่า บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP สนใจเข้าซื้อ ESSO เมื่อช่วงปี 2554-2555 แต่ดีลก็ไม่เกิดขึ้น ซึ่งประเมินว่าน่าจะเป็นในเรื่องของราคาที่ไม่เป็นที่ยอมรับทั้ง 2 ฝ่าย และในครั้งนี้ถือเป็นอีกครั้งที่เกิดขึ้นแต่เปลี่ยนผู้ซื้อเป็น BCP แทน

    หุ้น BCP พุ่งรับข่าว บางจาก เตรียมเข้าซื้อ เอสโซ่ นักวิเคราะห์ชี้ ช่วยดันกำลังการกลั่นพุ่งเท่าตัว
    ซึ่งในกรณีของ BCP หากเข้าซื้อ ESSO จริง

    จะเห็นว่าความร่วมมือทางธุรกิจที่จะเกิดขึ้นอาจไม่มากเท่า TOP ซื้อ ESSO เนื่องจากสถานที่ตั้งที่อยู่คนละแห่ง โดย ESSO ตั้งอยู่ จ.ชลบุรี ติดกับโรงกลั่น TOP รวมถึงโครงสร้างผลิตภัณฑ์ที่ ESSO มีสายการผลิตทั้งโรงกลั่น และโรงงานอะโรเมติกส์เหมือน TOP ขณะที่ BCP มีส่วนที่เหมือน ESSO

    คือสายธุรกิจโรงกลั่น แต่หาก BCP เข้าซื้อกิจการก็จะส่งผลให้กำลังการผลิตของโรงกลั่นเพิ่มได้อีกกว่าเท่าตัว เนื่องจาก ESSO มีกำลังการกลั่นอยู่ราว 1.7 แสนบาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันที่ BCP มีกำลังการกลั่น 1.2 แสนบาร์เรลต่อวัน

    และจะเพิ่มสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นเป็น 2.1 พันแห่ง จากปัจจุบัน 1.3 พันแห่ง และได้ธุรกิจอะโรเมติกส์กำลังการผลิตพาราไซลีน 5.0 แสนตันต่อปี เพิ่มเข้ามา

    ดังนั้นจึงประเมินว่าตัวแปรสำคัญสำหรับดีลการเข้าซื้อกิจการของ ESSO ของ BCP น่าจะอยู่ที่ราคา ซึ่งทำให้เกิดการเก็งกำไรในราคาหุ้น ESSO เช่นในช่วงปี 2554 ที่มีประเด็นข่าวว่า TOP จะเข้าซื้อ ESSO ราคาหุ้น ESSO ได้ปรับตัวขึ้นไปอยู่ในกรอบเฉลี่ยราว 14 บาทต่อหุ้น

    แต่ถ้าคำเสนอซื้ออยู่ที่ราคาสูงก็จะไม่เป็นผลดีต่อ BCP เพราะจะไม่เกิดมูลค่าเพิ่มให้กับ BCP ในการเข้าซื้อกิจการในครั้งนี้ เพราะหากพิจารณาคาดการณ์กำไรของการประเมินนักวิเคราะห์ในปี 2565 ของ ESSO เพราะว่าอยู่ที่ 1.29 บาทต่อหุ้น เพราะในปี 2565 นี้ถือเป็นปีที่ดีของโรงกลั่น เพราะได้รับอานิสงส์จากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ในงวดไตรมาสที่ 2 ของปี 2565

    ซึ่งหากประเมินจากค่าเฉลี่ย ราคาที่เหมาะสม ที่ประเมินในการประเมินของนักวิเคราะห์ ที่ 14 บาทต่อหุ้นพบว่า ระดับราคาปิดกำไรต่อหุ้นคาดการณ์ล่วงหน้า หรือ PER จะอยู่ที่ 10 เท่า

    แต่หากพิจารณาผลการดำเนินย้อนหลังของ ESSO ในปี 2563-64 พบว่าเผชิญกับผลขาดทุนมาตลอด ดังนั้นจึงมองเป็นเพียงกระแสเก็งกำไรที่อาจเกิดขึ้นได้สำหรับราคาหุ้น ESSO ขณะที่ BCP ในเชิงพื้นฐานฝ่ายวิจัยแนะนำเปลี่ยนการลงทุน ด้วยมูลค่าพื้นฐานสิ้นปี 2566 ที่ 35 บาทต่อหุ้น.

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : tyreinternationalfestival.com